วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557


 ปรากฏการณ์เอลนีโญ  ลานีญา

             บนโลกของเรามีกระแสน้ำอุ่นและกระเเสน้ำเย็นเคลื่อนที่ในมหาสมุทร ซึ่งการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นช่วยให้เกิดความสมดุลของอุณหภูมิ และสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นไปตามปกติ




                  ในภาวะปกติ มหาสมุทรแปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตรจะมีลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ และลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้พัดพาน้ำบริเวณผิวหน้าที่มีอุณหภูมิสูงจากการรับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ลมสินค้าดังกล่าวพัดจากชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก คือทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก คือด้านตะวันออกของหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย

                  เมื่อมีการไหลของน้ำทะเลในระดับผิวพื้นออกจากบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้  จะมีน้ำเย็นจากขั้วโลกที่ไหลเรียบชายฝั่งทวีปอเมริกา โดยเฉพาะน้ำเย็นที่อยู่ส่วนล่างซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าไหลขึ้นมาแทน บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีป อเมริกาใต้จึงมีอุณหภูมิต่ำ ส่งผลให้อากาศที่อยู่เหนือบริเวณนี้มีอุณหภูมิต่ำ ไม่สามารถก่อตัวขึ้นเป็นเมฆและฝนได้ ดังนั้นจึงมีสภาพอากาศที่แห้งแล้ง





 ส่วนมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกที่มีน้ำอุ่นมาสะสมอยู่ อากาศบริเวณนี้จึงมีอุณหภูมิและความชื้นสูง จึงก่อให้เกิดเมฆฝนขนาดใหญ่จำนวนมาก บริเวณนี้จึงมีฝนตกมาก


                   เอลนีโญ  ลานีญา

                   แต่บางครั้งสภาพลมฟ้าอากาศดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดปรากฏการณ์        เอลนีโญ และลานีญา
                   บางปีลมสินค้าอ่อนกำลังลงมาก ไม่สามารถพัดพาน้ำอุ่นจากฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ไปยังฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และขณะเดียวกันน้ำอุ่นที่สะสมอยู่ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกก็ไหลย้อนกลับไปทางตะวันออกอย่างช้าๆ จนในที่สุดเคลื่อนที่ไปถึงชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
                   ทำให้น้ำทะเลบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่งผลให้อากาศบริเวณนี้มีอุณหภูมิสูงและความชื้นสูงจึงลอยตัวสูงขึ้น และก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ทำให้บริเวณนี้ซึ่งเคยแห้งแล้ง กลับมีฝนตกมาก ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า เอลนีโญ
                   




ในบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกัน กล่าวคือลมสินค้าที่พัดพาน้ำอุ่นจากมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกมีกำลังแรงกว่าปกติ และน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก คือชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้มีอุณหภูมิตำ่กว่าปกติ

                  ในขณะที่ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก คือบริเวณประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิน้ำทะเลจะสูงกว่าปกติ อากาศเหนือบริเวณนี้จึงมีอุณหภูมิและความชื้นสูงกว่าปกติ จึงทำให้เกิดฝนตกมากกว่าปกติ ขณะที่ฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้แห้งแล้งกว่าปกติ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ลานีญา

                   การเกิดเอลนีโญ และลานีญา เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่มีช่วงการเปลี่ยนแปลง
ไม่แน่นอน คืออยู่ในช่วง 2 ปีถึง 10 ปี     เอลนีโญ และ ลานีญา ส่งผลโดยตรงต่อโลกคือทำให้เกิดความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศทั่วโลก อย่างไรก็ตามบริเวณต่างๆ จะได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน
โดยทั่วไปเอลนีโญจะทำให้บริเวณที่เคยมีฝนตกชุกจะมีปริมาณฝนลดลงอย่างมาก และบริเวณที่มีฝนน้อยจะมีฝนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนลานีญาจะทำให้บริเวณที่มีฝนมากอยู่แล้วจะมีฝนเพิ่มขึ้นอีก และบริเวณที่แห้งแล้งจะยิ่งแล้งยิ่งขึ้นเช่นกัน
                   นอกจากนั้นน้ำเย็นในระดับล่างของมหาสมุทรจะอุดมไปด้วยสารอาหาร น้ำเย็นที่ไหลขึ้นสู่ผิวหน้าของมหาสมุทรจึงเป็นจุดเริ่มต้นของโซ่อาหารของสัตว์ทะเล โดยแพลงตอนจะกินสารอาหารเหล่านี้ ปลาขนาดเล็กจะกินแพลงตอน แล้วปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็กกว่า เป็นโซ่อาหารต่อไปเรื่อยๆ จนถึงนกทะเล และสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่กินปลาเป็นอาหาร ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้อุ่นขึ้น ปลาและสัตว์ทะเลอื่นๆ ในบริเวณนี้จะลดลงเนื่องจากน้ำเย็นจากระดับล่างไม่สามารถขึ้นมาสู่ผิวหน้าของมหาสมุทรได้ ทำให้ขาดสารอาหาร
                  จากผลการศึกษาพอสรุปได้กว้างๆ ว่าหากเกิดเอลนีโญ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เอลนีโญมีขนาดรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น สำหรับลานีญาพบว่า ทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนในประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น






ปล.ถ้าพิมพ์ตัวใดตัวหนึ่งผิด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เพราะพิมพ์เองทั้งหมด ^^
  
                  

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ชั้นบรรยากาศ

                
  อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และที่หุ้มห่อโลกจากตั้งแต่พื้นดินขึ้นไป จนถึงระดับที่สูงสุดในท้องฟ้าเราเรียกว่า บรรยากาศ อากาศ หรือบรรยากาศ เป็นส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ รวมทั้งไอน้ำ ซึ่งระเหยมาจากพื้นน้ำในแหล่งต่างๆด้วย อากาศที่ไม่มีไอน้ำอยู่ด้วยเราเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วยเราเรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำในบรรยากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0–4 ของอากาศทั้งหมด แต่ไอน้ำเป็นส่วนผสมสำคัญยิ่งของอากาศ เพราะไอน้ำเป็นสาเหตุของการเกิดฝน ลม พายุ ฟ้าแลบและฟ้าร้อง อากาศแห้งมีส่วนผสมของอากาศโดยประมาณ ดังนี้

ไนโตรเจน ร้อยละ 78 , ออกซิเจน ร้อยละ 21 , อาร์กอน ร้อยละ 0.93 , ก๊าซ อื่น ๆ ร้อยละ 0.07

ตามปกติในธรรมชาติจะไม่มีอากาศแห้งแท้ ๆ อากาศทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นอากาศชื้น คือ มีไอน้ำปนอยู่ด้วยตั้งแต่ร้อยละ 0–4 ซึ่งหมายความว่า ถ้าอากาศชื้นมีน้ำหนัก กิโลกรัม จะมีไอน้ำอยู่อย่างมากได้เพียง 40 กรัม เมื่ออากาศมีไอน้ำปนอยู่ด้วยจำนวนส่วนผสมของก๊าซอื่นก็จะเปลี่ยนแปลงไปบางเล็กน้อย
ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกของเราแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น ดังนี้


  1. โทรโพสเฟียร์ 2. สตราโทสเฟียร์ 3. เมโซสเฟียร์ 4. เทอร์มอสเฟียร์


               บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ เป็นบรรยากาศชั้นล่างสุด ที่อยู่สูงจาากพื้นโลกขึ้นไป มีระยะความสูงประมาณ 10-12 กม. ประกอบด้วยส่วนผสมของก๊าซชนิดต่าง ๆ และไอน้ำ อุณหภูมิของอากาศจะลดลง ตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น จนถึงระดับที่เรียกว่า โทรโพพอส ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของบรรยากาศชั้นนี้ นอกจากนี้บรรยากาศในชั้นนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวของอากาศ ทั้งในแนวนอน และแนวดิ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ ทางอุตุนิยมวิทยาต่าง ๆ ในบรรยากาศชั้นนี้ มากมายเช่น การก่อตัวของเมฆ ฝน พายุ ลมกรด ฯลฯ

               บรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ชั้นนี้อยู่สูงจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป มีแนวกั้นระหว่างชั้นที่เรียกว่า โทรโพพอส บรรยากาศชั้นนี้จะมีก๊าซโอโซนอยู่ และด้วยคุณสมบัติในการดูดแสงอัลตราไวโอเล็ต หรือแสงเหนือม่วงไว้ จึงทำให้อุณหภูมิของอากาศ ในชั้นนี้เพิ่มขึ้นตามความสูง ชั้นสูงสุดของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า สตราโทพอส ซึ่งอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 50-55 กม.

               บรรยากาศชั้นเมโซสฟียร์ เป็นชั้นที่อยู่สูงขึ้นไปต่อจากชั้น สตราโทสเฟียร์ มีเขตกั้นระหว่างชั้นบรรยากาศทั้งสอง ที่เรียกว่า สตราโทพอส บรรยากาศชั้นนี้อยู่สูงขึ้นไป จนถึงระดับความสูง 85 กม. จากพื้นดิน และอุณหภูมิของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทันทีที่ผ่านพ้นเขตสตราโทพอสขึ้นไป ชั้นสูงสุดของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า เมโซพอส เป็นเขตที่ตั้งระหว่างบรรยากาศชั้น เมโซสเฟียร์กับเทอร์มอสเฟียร์

               บรรยากาศชั้นเทอร์มอสเฟียร์ เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มโลกอยู่ลักษณะเด่นของบรรยากาศในชั้นนี้ก็คือ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูงไม่มีที่สิ้นสุด โดยบรรยากาศในชั้นนี้จะมีการแตกตัวของโมเลกุลของก๊าซต่าง ๆ มากที่สุด มีประจุไฟฟ้าอิสระอยู่มาก จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบรรยากาศชั้น ไอโอโนสเฟียร์ ซึ่งหมายความถึง การมีประจุไฟฟ้าอิสระอยู่มาก สามารถสะท้อนวิทยุคลื่นสั้นได้ จึงเป็นชั้นบรรยากาศ ที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

รูโหว่ของโอโซน

   
                   โอโซนในบรรยากาศมีปริมาณน้อยมาก เฉลี่ยประมาณ 3 ใน 10 ล้านโมเลกุลอากาศ แม้ว่าจะมีปริมาณเล็กน้อยแต่มีบทบาทสำคัญในบรรยากาศมาก โดยปกติพบมากใน 2 บริเวณคือร้อยละ 90 พบในชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์ ที่ความสูงประมาณ 8 ถึง 50 กิโลเมตร พบโอโซนหนาแน่นที่ประมาณ 15-35 กิโลเมตร เรียกว่า ชั้นโอโซนส่วนที่เหลือร้อยละ 10 พบที่บริเวณชั้นล่างลงมา คือ ชั้นโทรโพสเฟียร์

                   จากการตรวจวัดภาคพื้นและดาวเทียมซึ่งได้ใช้เวลาศึกษามากกว่า 2 ทศวรรษ ได้แสดงให้เห็นว่า สารเคมีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นทำให้ชั้นโอโซนบางลง สารประกอบที่ทำลายโอโซนประกอบด้วยคลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) โบรมีน (Br) คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) มักเรียกรวมกันว่า ฮาโลคาร์บอน ส่วนสารที่ประกอบด้วยเพียง คลอรีน ฟลูออรีนและคาร์บอน เรียกว่า คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFCs สารประกอบ CFCs คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CC14) และเมธิลคลอโรฟอร์ม เป็นก๊าซสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น เช่นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ การเป่าโฟม การใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และใช้เป็นสารชะล้างอื่นๆ สามารถทำลายโอโซนได้เป็นอย่างมาก อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ฮาลอน (halon) ประกอบด้วย C Br F และ Cl มักใช้เป็นสารดับเพลิง
                     การสูญเสียโอโซนในบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ เครื่องมือต่างๆ ทั้งภาคพื้นดิน และดาวเทียมตรวจพบว่ามีโอโซนลดลงมากเหนือทวีปแอนตาร์กติกถึงร้อยละ 60 ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนของทุกปีซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า รูรั่วโอโซนในทวีปแอนตาร์กติก และเกิดการลดลงทำนองเดียวกันในขั้วโลกเหนือคือทวีปอาร์กติก





ปล.ถ้าพิมพ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือ ตัวย่อผิด ก็ขออภัยด้วยนะครับ  

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แหล่งท่องเที่ยวสวนสาธารณะหาดใหญ่ จ.สงขลา

แผนผัง สวนสาธารณะ หาดใหญ่


กระเช้าลอยฟ้า  

ภายในบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด 4 สถานี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นจากสถานีที่ 3 บริเวณพระพุทธมงคลมหาราช ไปยังสถานีที่ 4 บริเวณท้าวมหาพรหม และระยะที่ 2 เริ่มต้นจากสถานีที่ 1 บริเวณสนามเด็กเล่น ไปยังสถานีที่ 2 บริเวณพระโพธิสัตว์กวนอิม และไปยังสถานีที่ 3 บริเวณพระพุทธมงคลมหาราช ปัจจุบันเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ดำเนินการก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าระยะที่ 1 แล้วเสร็จ โดยใช้งบประมาณ 170,600,000 บาท จากสถานีที่ 3 บริเวณพระพุทธมงคลมหาราช ไปยังสถานีที่ 4 บริเวณท้าวมหาพรหม ระยะทาง 525 เมตร ซึ่งมีพีธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2553 และก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 โดยได้จัดพิธีเปิดในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งถือว่าเป็นกระเช้าลอยฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย กระเช้าคุณภาพ ...กระเช้าลอยฟ้านครหาดใหญ่ ทำจากวัสดุที่คงทนแข็งแรงนำเข้าจากต่างประเทศ และใช้ระบบการควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ครั้งละ 8 คน รองรับน้ำหนักได้ 640 กิโลกรัม มีจำนวน 2 คัน ขาไปจำนวน 1 คัน และขากลับจำนวน 1 คัน ใช้ระบบเดินหน้า ถอยหลัง (Jig Back) ตัวกระเช้าเป็นแบบเก๋งจะยึดติดกับลวดสลิงตลอดเวลา สามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองหาดใหญ่ได้อย่างชัดเจน ใช้ระยะเวลาในการเดินทางเร็วที่สุดประมาณ 2 นาที 30 วินาที ด้วยความเร็ว 5 เมตร/วินาที ตัวอาคารออกแบบให้มีรูปลักษณ์เรียบง่าย โล่งโปร่ง กลมกลืนกับธรรมชาติ และมีความทันสมัย โดยมีทางลาดที่สามารถให้บริการแก่ผู้พิการที่นั่ง wheel chair ได้อีกด้วย

หาดใหญ่ไอซ์โดม ปีที่ 5

Hatyai Ice Dome 5 "World of Ice"
อลังการงานโชว์ ความสุขเกิดทุกตารางเมตร หาดใหญ่ไอซ์โดม ปีที่ 5 "โลกน้ำแข็งมหาสนุก" ยกประติมากรรมน้ำแข็งขนาดยักษ์ไว้บนพื้นที่ 1,700 ตารางเมตร หนาวเย็นเต็มพิกัดติดลบ 15 องศาเซลเซียส ด้วยฝีมือช่างฝีมือระดับโลกจากเมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ทูตสันถวไมตรี (ช้างไทยและหมีแพนด้า)
ยักษ์ไทย (ยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์)
กำแพงเมืองจีน
มัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานี
พระปรางค์วัดอรุณ
สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้
สไลเดอร์คิงคองยักษ์
โครงการตามพระราชดำริ
เขื่อนภูมิพล
ตุ๊กตาประจำชาติอาเซียน
รถลากจีน
ภูเขารัชมอร์
ภูเขาไฟฟูจิ
โคลอสเซียม
สฟิงซ์
รถฟักทอง
รองเท้าบูทยักษ์
รถไฟมหาสนุก


 เทศกาลโคมไฟสีสันเมืองใต้
 Hatyai Lantern Festival
เทศบาลนครหาดใหญ่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ประสานความร่วมมือกันในการจัดงานเทศกาลโคมไฟสีสันเมืองใต้ Hatyai Lantern Festival เพื่อสร้างบรรยากาศและสีสันความแปลกใหม่ให้กับนครหาดใหญ่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยงานเทศกาลโคมไฟสีสันเมืองใต้ เป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้รับการผลักดันจนทำให้งานเทศกาลดังกล่าวเป็นงานเทศกาลประจำปี ซึ่งต่างเป็นชื่นชอบและรู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
โดยงานเทศกาลโคมสีสันเมืองใต้ จะเน้นสีสันความสวยงามของการจัดแสดงประติมากรรมโคมไฟในรูปแบบต่าง ๆ ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมของไทยในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนวัฒนธรรมและรูปแบบความสวยงามล้ำสมัยของนานาชาติ รวมถึงการจัดแสดงรูปแบบประติมากรรมร่วมสมัยที่นำแนวคิดสร้างสรรค์และจินตนาการมาประกอบการจัดแสดง         
          ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2548
ภายใต้บรรยากาศความสวยงามของสีสันของโคมไฟอันตระการตา ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่
          ครั้งที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2550
ภายใต้รูปแบบประติมากรรมโคมไฟ สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรม ลอยกระทง และโคมไฟเฉลิมพระเกียรติฯ หาดใหญ่ที่มี ความแปลกใหม่ร่วมสมัย ณ กลางบึงศรีภูวนารถ เทศบาล นครหาดใหญ่ ทศบาลนครหาดใหญ่
          ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 - 28 กุมภาพันธ์ 2552            
ภายใต้รูปแบบ 7 Amazing 7 มหัศจรรย์โคมไฟณ สวนสาธารณะทศบาลนครหาดใหญ่
          ครั้งที่ 4 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 - 28 กุมภาพันธ์ 2553
ภายใต้รูปแบบ 9 มหัศจรรย์โคมไฟแห่งความสุข กับการเปิดตัวครั้งแรกของมหัศจรรย์โลกน้ำแข็ง Hatyai Ice Dome
การแสดงประติมากรรมโคมไฟน้ำแข็งแกะสลัก โดยฝีมือช่างจีนจากเมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาจีน ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่
          ครั้งที่ 5 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 - 28 กุมภาพันธ์ 2554
สุดยอด 11 มหัศจรรย์โคมไฟ และการแสดงประติมากรรมโคมไฟน้ำแข็งแกะสลัก Hatyai Ice Dome
          ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2555
จัดแสดงโคมไฟชุดพิเศษ โคมไฟเฉลิมพระเกียรติเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา
ตลอดจนการจัดแสดงประติมากรรมโคมไฟในรูปแบบต่าง ๆ
          ครั้งที่ 7 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 30 เมษายน 2555 เวลา 17.0021.00 น.
งามตระการ "สีแสงแห่งวัฒนธรรม"
          ครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 255630 เมษายน 2557 เวลา 17.0021.00 น.









ปล.สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้พูดถึงนั้น เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งในบริเวณ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา